Tips & News » สาระน่ารู้ » รู้หรือไม่ทำผิดกฏจราจรต้องเสียค่าปรับสูงสุดเท่าไหร่บ้าง

รู้หรือไม่ทำผิดกฏจราจรต้องเสียค่าปรับสูงสุดเท่าไหร่บ้าง

10 สิงหาคม 2017
3241   0

เพืื่อนๆหลายคนคงสงสัยเรื่องปัญหาของกฎหมายจราจรว่าแต่ละข้อหานั้นมีค่าปรับสูงสุดเท่าไหร่บ้าง ผมจะมาคลายข้อสงสัยในหลายๆข้อหาที่คนไทยส่วนใหญ่มักจะเผลอทำผิดบ่อยๆ  หรือ บางข้อหานั้นยังเป็นข้อถกเถียงกับเจ้าหน้าที่ จนทำให้พบเห็น คลิ๊ปบนโซลเชี่ยลเต็มไปหมด

 

ขอบคุณรูปภาพประกอบจาก สสส.

1. เมาแล้วขับ

สำหรับ นักดื่ม และ นักท่องราตรี ต้องเจอกับคดีนี้บ่อยเป็นแน่ครับ เมื่อ กฎหมายเมาไม่ขับ (แล้วกรูจะกลับยังไง?) เจ้านายท่านเอาจริงเอาจัง บางครั้งมนุษย์สังคมอย่างเราๆ ก็เลี่ยงมารยาททางสังคมไม่ได้ เพราะคำว่า “หมดแก้ว” มันค้ำคอ ฉะนั้น ถ้าจะดื่มนั้นก็พยายามอย่าให้เกิน 50 mg แล้วกันนะครับ สำหรับเมาแล้วขับ ตามกฎหมายแล้ว จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับสูงสุด 20,000 บาท หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่มีกำหนดไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาต จนถึงการยึดรถที่ใช้ไม่เกิน 7 วัน ยังไงก็ตามถ้าหากเลี่ยงไม่ได้ก็แนะนำให้ใช้บริการ รถสาธารณะดีกว่านะครับ

 

2.รถไม่เสียภาษีประจำปี หรือเรียกง่ายๆว่า ไม่ต่อ พรบ.

บางคนอาจจะเคยเจอปัญหาลืมต่อภาษี พรบ . หรือว่าต่อแล้วแต่ไม่ได้ติด ป้าย พรบ. หน้ากระจกให้ชัดเจนนั้นก็ถือว่ามีความผิดเช่นกัน แต่ขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่นั้นๆว่ามีความกวดขันเรื่องกฎหมายมากน้อยแค่ไหนสามารถเรียกเพื่อเสียค่าปรับได้ แต่อย่างไรก็ตาม  การเสียภาษี พรบ. นั้นมันมีความสำคัญ ตามกฎหมายใน พ.ร.บ.รถยนต์ มาตรา 11 ได้กำหนดให้ต้องมีป้ายเสียภาษีและต้องแสดงแผ่นป้ายให้ชัดเจน และเครื่องหมายครบถ้วน ตามกำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 25 พ.ศ. 2539 ข้อ 4 บอกว่า เครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปีให้ติดในที่ที่สามารถมองเห็นเป็นข้อความในส่วนของด้านหน้าเครื่องหมายการแสดงการเสียภาษีประจำปีได้ชัดเจน สำหรับคดีไม่เสียภาษีประจำปีนั้นคือ ปรับสูงสุด 2000 บาท แต่บางกรณีคุณตำรวจอาจจะลดหย่อนค่าปรับจน เหลือแค่ 200 บาท

 

3.รถไม่มีป้ายทะเบียน

สำหรับกรณีรถไม่มีป้ายทำเบียน ทั้งตั้งใจ หรือไม่ได้ตั้งใจ ก็ถือว่ามีความผิด ตามพรบ. ขนส่งทางบกอย่างชัดเจนครับ แต่สามารถอนุโลมได้บ้าง ตามดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ว่าเห็นสมควรหรือไม่ แต่ถ้าหากทะเบียนหล่นหาย เนื่องจากมีการสูญหายและแจ้งหายไว้แล้วมีการดำเนินการขอป้ายทะเบียนใหม่ แต่อยู่ระหว่างรอการดำเนินการตามขั้นตอนของกรมการขนส่งทางบก อย่างเร่งด่วนนะครับ เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ถนน ปรับสูงสุด 2000 บาท

 

4.ขับรถโดยไม่มีใบขับขี่

ข้อหานี้ มักพบได้บ่อยสำหรับคุณผู้ใช้ถนนขี้ลืมพบใบขับขี่ติดตัว ทั้งหลาย ถึงจะดูเป็นเรื่องเล็กๆ พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 ระบุไว้ว่า ผู้ที่จะขับขี่รถยนต์บนทาง หรือท้องถนน จะต้องมีใบอนุญาตขับรถ หากไม่มีใบอนุญาต ยังไม่เคยสอบจนได้รับใบอนุญาตขับขี่แล้วขับรถถือว่ามีความผิด มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่หากเคยได้รับใบอนุญาตขับขี่แล้ว แต่ไม่สามารถแสดงต่อเจ้าหน้าที่เมื่อเรียกดูได้ทันที ก็มีความผิดเช่นกัน แต่มีเพียงโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ขณะที่ความผิดของเจ้าของรถที่ยอมให้คนไม่มีใบขับขี่ขับรถของตนเองไปตามท้องถนน มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท อย่างไรก็ตามในการจับกุมข้อหาไม่มีใบอนุญาตขับขี่ ตามกฎหมายตำรวจจะออกใบสั่งไม่ได้แต่ปัจจุบัน ได้เพิ่มโทษเป็นจำคุกไม่เกิน 3 เดือน และหรือ ปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท

 

5.รถเสียงดังเกินกำหนด

โดยอันที่จริงแล้วคนที่ BIGBike มักเจอข้อหานีี้บ่อยครั้ง จนบางครั้งว่า “ท่อผมเดิมๆจากโรงงานนะครับ”  มันก็ดังพอที่จะเกินมาตราฐานกฎหมายอยู่แล้ว สำหรับการวัดเสียงนั้นจะต้องใช้เครื่องวัดเสียง dB Meter เป็นตัววัดชี้ เพราะเจ้าหน้าที่จะต้องใช้ตัวเลขจากเครื่องนี้เป็นหลักฐานตาม ข้อกฎหมายนั้นกำหนด ความดังอยู่ที่ไม่เกิน 95 dBA  ประกอบ กับระยะห่างการวัดจะต้องตั้งเครื่องวัดห่างจากปลายท่อ ครึ่งเมตรและต้องตั้งเป็นมุมเฉียงจากปลายท่อ 45 องศา และการเร่งเครื่องต้องทำรอบอยู่ที่ 3/4 ของความเร็วเครื่องสูงสุด และถ้าหากเจ้าหน้าที่ไม่ได้ปฎิบัติตามนี้ก็ฝากบอกด้วยนะครับ เพื่อหลีกเลี้ยงปัญหาอื่นๆที่จะตามมา และข้อหานี้ก็ได้ตั้งโทษปรับที่ 500 บาท

 

6. แซงซ้าย

สำหรับข้อหานี้เป็นข้อหาที่เป็นที่ถกเถียงของ ประชาชนกับเจ้าหน้าที่บ่อบครั้งมาก เพราะด้วยความไม่ชัดเจนในการตัดสินข้อหา ฉะนั้นเราลองมาดูกันครับ

ตามกฎหมาย พรบ. มาตรา ๔๕ ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถแซงเพื่อขึ้นหน้ารถอื่นด้านซ้ายเว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้
(๑) รถที่จะถูกแซงกำลังเลี้ยวขวาหรือให้สัญญาณว่าจะเลี้ยวขวา
(๒) ทางเดินรถนั้นได้จัดแบ่งเป็นช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่สองช่องขึ้นไป
การขับรถแซงด้านซ้ายตาม (๑) หรือ (๒) จะกระทำได้เมื่อไม่มีรถอื่นตามมาในระยะกระชั้นชิดและมีความปลอดภัยพอและข้อหานี้ก็ได้ตั้ง โทษปรับสูงสุดไม่เกิน 400 บาท

 

7.เลี้ยวรถโดยไม่เปิดไฟเลี้ยว

อย่าคิดว่าเรื่องเล็กๆ น้อยๆ จะไม่สำคัญนะครับ เพราะเรื่องเล็กๆ น้อยๆ  หลายๆคนคงเจอเหมือนผมใช่มั้ยหละครับ? อย่างไม่เปิดไฟเลี้ยวหรือเลี้ยวแล้วค่อยเปิดเมื่อต้องการขอเส้นทางนั้นทำให้คนไทยเสียชีวิตหรือทรัพย์สินมาเป็นจำนวนมหาศาลแล้วจากกรณีนี้ มักจะเป็นข้อถกเถียงบนท้องถนนบ่อยครั้งจนเกิด วลีเด็ดว่า “ขับรถภาษาอะไรวะ!!” บางครั้งถึงขั้นตบตีชกต่อย  จริงๆแล้วการเปิดไฟเลี้ยวนั้น ควรเปิดไฟเลี้ยวก่อน 30 เมตร “ไม่ใช่เลี้ยวแล้วค่อยเปิดนะครับ” ตามประมวลกฎหมาย จราจร ได้กำหนดโทษปรับสูงสดไม่เกิน 400 บาท

 

8.ผ่าไฟแดง

สำหรับเรื่องนี้คงไม่ต้องพูดอะไรมากมายเพราะ คนส่วนใหญ่จะต้องทราบกันดีอยู่แล้ว แต่ ถ้าหากกระชั้นชิดจนต้องหลุดผ่าไฟแดงอันนี้ก็แล้วแต่โชคแล้วกันนะครับ ส่วนประมวลกฎหมาย พรบ. จราจรก็ได้กำหนดไว้ที่โทษปรับสูงสุดไม่เกิน 300 บาท

 

9.กลับรถในที่ห้ามกลับ

กลับรถในที่ห้ามกลับ สังเกตุง่ายๆจากป้ายบอกห้ามกลับรถ เรื่องนี้สำหรับบางคนที่มักง่ายก็ต้องโทษปรับไปตามระเบียบ พรบ. จราจร โทษปรับสูงสุด 200 บาท

 

10. จอดรถในที่ห้ามจอด

สำหรับที่ห้ามจอดนั้นสังเกตุจากเส้น แดง-ขาว ที่ฟุตบาตนั่นคือเขตห้ามจอด และ ในบางพื้นที่ก็ได้ขึ้นป้ายกำหนดเวลาจอดไว้ ต้องคอยดูให้ดีๆ ก่อนนะครับว่าเป็นพื้นที่อนุญาติหรือไม่ สำหรับโทษปรับเจ้านายเขียนใบสั่งให้จะอยู่ที่ ปรับ 200 บาท  และในส่วน ข้อหาจอดรถขวางทางจราจรจะต้อง เสียค่าปรับ 500 บาท แต่ถ้าหากโดนล็อคล้อ จะต้องเสียค่าเครื่องล็อคล้อ อีก 500 บาท

 

11. ขับรถมอเตอร์ไซด์ไม่สวมหมวกกันน๊อค

อันนี้แทบจะไม่ต้องอธิบายเลยหละครับ สำหรับข้อหาหมวดกันน็อคที่คนไทยมักจะละเลยความปลอดภัยของชีวิตเป็นอันดับต้นๆ สำหรับข้อหานี้มี โทษปรับ 200 บาท สูงสุดไม่เกิน 500 บาท

 

12.ให้ผู้ไม่มีใบขับขี่จับรถของตน

ข้อหานี้อาจจะดูใหม่กับใครหลายๆคน แต่จริงๆ ก็มีมาตั้งนานแล้วหละครับสำหรับ ผู้ที่มีน้ำใจ แต่กลับให้ บุคคลที่ไม่มีใบขับขี่ ขับรถของตนเอง ก็ถือว่ามีความผิด เช่นกัน มีโทษปรับสูงสุด 2000 บาท เลยทีเดียวหละครับ

นี่ก็เป็นข้อกฎหมายและเกร็ดความรู้บนท้องถนน สำหรับผู้ที่ใช้ท้องถนน ต้องรู้ไว้เพื่อใช้ท้องถนนหลวงสาธารณะอย่างปลอดถัย อย่างไรก็ตามทีมงาน Sure2Car และ กฤษฎากู๊ดคาร์ โชว์รูมรถมือสอง ก็ขอรณรงค์ให้คนไทยใช้ท้องอย่างระมัดระวัง เคารพกฎหมายและกติกาซึ่งกันและกันครับ